ศาลเจ้าปู่-ย่า จังหวัดอุดรธานี

ศาลเจ้าปู่-ย่า
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าปู่-ย่า ยังไม่สามารถหาหลักฐานในระยะก่อตั้งเริ่มแรกที่เป็นข้อมูลสรุปอย่างชัดเจน ได้ เพียงแต่อาศัยการบอกเล่าของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนรุ่นเก่าที่เล่าสืบมาว่าประมาณ ปี พ.ศ. 2488 กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในจังหวัดอุดรธานี ได้อัญเชิญผงธูปที่เรียกกันว่า "ผงมงคล" หรือ "ผงอิทธิเจ" แห่งองค์เทพเจ้าปู่จากใต้ร่มไม้ใหญ่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี อันได้แก่เส้นทางที่มุ่งไปสู่อำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของจังหวัดหนองบัวลำภู) ซึ่งมีสถานภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยขุนเขา หนองน้ำ และต้นไม้ใหญ่นานาชนิด เป็นลักษณะพื้นที่ที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ตามตำราโหราศาสตร์จีน จึงได้อัญเชิญมาประทับที่ศาลไม้เล็กๆ ใต้ต้นไม้ใหญ่ริมฝั่งหนองบัว ตำบลหนองบัว จังหวัดอุดรธานี ใกล้สถานีรถไฟ ปัจจุบันคือบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่าที่มีความร่มรื่นอันเป็นสัญลักษณ์ของความ สงบสุข บนเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ เบื้องหน้าศาลไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตชาวเมืองอุดรธานี

เคล็ดลับการกราบไหว้ขอพร นอก จากการกราบไหว้ด้วยธูป 30 ดอกแล้ว การกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ต้องถวายส้ม 4 ลูก พอกราบไหว้ครบทั้ง 6 จุดแล้ว ให้เดินไปที่สะพานเก้าเลี้ยวเชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสวรรค์ และรับรู้ว่าขอพรอะไรไป เสร็จแล้วให้มากราบลาศาลปู่-ย่า พร้อมเอาส้มกลับมา 2 ลูก

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งแรก ควรแวะมาสักการะยังศาลเจ้าแห่งนี้ ได้แก่ “ทีตีแป่บ้อ” เรียกสั้นๆว่า “ทีกง” หรือ ชื่อในภาษาไทย คือ “ศาลเทพยดาฟ้าดิน” ซึ่งเป็นการกราบไหว้สักการะสวรรค์ หรือเหล่าเทพยดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์นั่นเอง(ตามวัดจีน หรือ ศาลเจ้าจีน จะมี “ทีตีแป่บ้อ” อยู่เสมอทุกที่)เสาทีกง จะจัดสร้างขึ้นในกรรมการสมัยที่ 51(พ.ศ.2544) โดยมีความสูง 14.4 เมตร
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สอง คือ “ปึงเถ่ากงม่า”หรืิอ ชื่อภาษาไทย คือ”เจ้าปู่เจ้าย่า” สร้างในกรรมการสมัยที่ 41(พ.ศ.2534) โดยภายในศาลจะมีรูปบูชา “เจ้าปู่เจ้าย่า” อยู่ภายในซึ่งลูกหลานชาวอุดรส่วนใหญ่จะมากราบไหว้เพื่อขอพรในความเป็นสิริ มงคลอยู่เสมอ ในความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากขอสิ่งใด มักสมปราถนาตามที่ขออยู่เสมอ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สาม คือ ศาลเจ้าพ่อหนองบัว เนื่องจากที่ตั้ง ของ ศาลเจ้าปู่ย่านั้น ตั้งอยู่ริมหนองบัวหรือในปัจจุบันมีการสร้างสวนสาธารณะหนองบัวขึ้นวึ่งก็ได้ มีการอัญเชิญเจ้าพ่อหนองบัวมาสถิตย์อยู่ภายในบริเวญศาลเจ้าปู่ย่า ตามความเชื่อตั้งแต่การก่อตั้งศาลเจ้าปู่ย่าขึ้นใหม่ๆ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สี่ คือ “ตี่จู๋เอี๊ย” หรือ ชื่อภาษาไทย คือ เจ้าที่เจ้าทางซึ่งก็คือสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาดูแลสถานที่นั้นๆ ได้แก่บริเวณศาลเจ้าปู่ย่า และ บริเวณหนองบัว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ห้า คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งได้ขุดพบใต้ต้นไทรในบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า เมื่อ พ.ศ.2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สี่ คือ “ตี่จู๋เอี๊ย” หรือ ชื่อภาษาไทย คือ เจ้าที่เจ้าทางซึ่งก็คือสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาดูแลสถานที่นั้นๆ ได้แก่บริเวณศาลเจ้าปู่ย่า และ บริเวณหนองบัว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ห้า คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งได้ขุดพบใต้ต้นไทรในบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า เมื่อ พ.ศ.2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)

ตั้งอยู่ถนน 39 ศาลเจ้าเนรมิตร ตลาดน้อยหนองบัวเป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัวบริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตรซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 4224 5801 โทรสาร 0 4224 7291
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น